Curcumin

การประยุกต์ใช้เคอร์คูมิน ในการรักษา การป้องกันและฟื้นฟูโรคในสุนัขและแมว

เคอร์คูมิน เป็นสารกลุ่มโพลีฟีนอลที่มีสีเหลืองสด และอยู่ในกลุ่มเคอร์คูมินอยด์ที่พบมากในขมิ้นชัน (Curcuma longa) เป็นพืชในวงศ์ขิง (Zingiberaceae) ขมิ้นชันได้รับการขนานนาม ว่ามีฤทธิ์รักษาเช่นเดียวกับยา เคอร์คูมินมีประโยชน์ต่อการกำหนดเป้าหมายโมเลกุลส่งสัญญาน (Signaling molecules) และต่อระดับเซลล์ พร้อมด้วยประโยชน์ต่อสุขภาพหลายประการ เคอร์คูมินช่วยจัดการความเครียดออกซิเดชัน, กลุ่มอาการเมตาบอลิก, ไขมันในเลือดสูง, โรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง, โรคติดเชื้อ, โรคที่เกิดจากการอักเสบและโรคเกี่ยวกับระบบประสาท

ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่สำคัญของ เคอร์คูมิน

  • ต้านอนุมูลอิสระ – ช่วยให้ค่าความเครียดที่เกิดจากปฏิกิริยาจากออกซิเดชันภายในร่างกายดีขึ้น ควบคุมการทำงานของกลูต้าไธโอน เอนไซม์คาทาเลสและ SOD ซึ่งทำหน้าที่ในการปรับสภาพอนุมูลอิสระให้เป็นกลาง ยับยั้งเอนไซม์ต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดอนุมูลอิสระ เช่น ลิพอกซีจีเนส/ไซโคลออกซีจีเนส และ แซนทีนไฮโดรจีเนส/แซนทีนออกซิเดส
  • ต้านการอักเสบ – สามารถยับยั้งการอักเสบได้หลายกลไกล
  • ต้านเชื้อไวรัส – มีฤทธิ์ในการต้านเชื้อไวรัสต่างๆ ได้แก่ ไวรัสเอชพีวี (HPV), ไวรัสไข้หวัดใหญ่, ไวรัสตับอักเสบบี, ไวรัสตับอักเสบซี, อะดิโนไวรัส, ไวรัสคอกแซกกี้, ฮิวแมนโนโรไวรัส, ไวรัสก่อโรคในระบบทางเดินหายใจ (RSV) และเริม.
  • ต้านมะเร็ง – ป้องกันการเกิดมะเร็งโดยส่งผลต่อ 2 กระบวนการหลักคือ การสร้างเม็ดเลือดใหม่และการเติบโตของเนื้องอก
  • ยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย และยับยั้งเชื้อรา – ยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดโรคปริทันต์ แบคทีเรียก่อโรค (เชื้ออีโคไล, เชื้อสแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส, เอชไพโลไร), และยังสามารถควบคุมการเน่าเสียและเชื้อโรคที่เกิดจากราได้ด้วย
  • ป้องกันโรคภูมิแพ้- ควบคุมภาวะอักเสบของระบบทางเดินหายใจและทางเดินหายใจอุดตัน โดยการปรับเปลี่ยนระดับของไซโตไคน์อย่างเหมาะสม
  • ควบคุมการตอบสนองของภูมิคุ้มกัน – มีฤทธิ์ในการกดภูมิคุ้มกัน จึงส่งผลให้อาการข้ออักเสบจากรูมาตอยด์ดีขึ้น
  • ลดไขมันในเลือด, ป้องกันโรคเบาหวาน- ปรับปรุงการทำงานทั้งระบบของเบต้าเซลล์ในตับอ่อน, ทำให้ระดับ HOMA-IR (ค่าความดื้อต่ออินซูลิน) ลดลง ช่วยให้ดัชนีมวลกาย ไขมันและสัดส่วนของร่างกายดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
  • ปกป้องระบบประสาท – มีฤทธิ์ต้านต่อโรคที่เกิดจากการเสื่อมของเซลล์ประสาท
  • ตารางข้อมูลโรคของสุนัขและแมว

    H – สารออกฤทธิ์ที่ให้ผลลัพธ์ในระดับสูงต่อโรคที่ระบุ

    M – สารออกฤทธิ์ที่ให้ผลลัพธ์ในระดับกลางต่อโรคที่ระบุ

    N – ไม่มีข้อมูลยืนยันผลลัพธ์ของสารออกฤทธิ์ต่อโรคที่ระบุ